ยินดีต้อนรับสู่บล็อกการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยของพิชากร แก้วน้อย ค่ะ

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

ครั้งที่4
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ ..2558
เวลาเรียน 11.30-15.50.
เวลาเข้าสอน  11.30 น.  เวลาเข้าเรียน  11.30.  เวลาเลิกเรียน  15.50.


ความรู้ที่ได้รับ

      เนื้อหาทฤษฎีที่อาจารย์สอนในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องของ วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
      วัสดุคือสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป โดยวัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม   คม แตกหักง่าย  ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี  หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง  หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก


วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

กระดาษ   
การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสม    
  
      -กระดาษวาดเขียน  ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
      -กระดาษโปสเตอร์  ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
      -กระดาษมันปู  เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
      -กระดาษจากนิตยสาร  เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ สามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
      -กระดาษหนังสือพิมพ์  ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ



สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
   สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
   
 สีเทียน ( Crayon )   สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ  ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย                      
    
 สีชอล์กเทียน (oil pastel)  เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก

สีเทียนพลาสติก (plastic crayon)  เป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ 

สีเมจิก  (Water color)  บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด  เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย

ปากกาปลายสักหลาด(felt pen)หรือปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ

ดินสอ (pencil)  เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูปแต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป อาจปิดกั้นจินตนาการของเด็กได้

ดินสอสี (color pencil)
หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ 
  
สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ
   
     -สีฝุ่น (tempera)  เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียก         ด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด  เก็บไว้ใช้ได้นาน  เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจาก         น้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่

     -สีโปสเตอร์ (poster color) ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสี         ที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย           แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ

   -สีน้ำ (water color) เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย  ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วย       ระบาย เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้เด็กจะต้องคอยใช้             พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกันทำให้ภาพไม่              ชัดเจนจนดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียากจึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก

     -สีพลาสติก (plastic or acrylic) มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่            ต้องใช้ รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้        ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมี                   คุณสมบัติ แห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้

สีจากธรรมชาติ
สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆ ได้


วัสดุในการทำศิลปะ
กาว  กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ  ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย 
       นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่

ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้

ดินน้ำมัน เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ

ดินวิทยาศาสตร์ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก 


                                                              
                                                       
บรรยากาศการสอน


               ตัวอย่างสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่อาจารย์เตรียมมาใช้ยกตัวอย่างในการเรียนการสอนวันนี้




กิจกรรมศิลปะในวันนี้

ก่อนทำกิจกรรมศิลปะอาจารย์ได้แจกอุปกรณ์สำหรับตกแต่งผลงานศิลปะกันก่อน


กิจกรรมในวันนี้มีกระดาษมาให้2 แผ่น ในกระดาษทั้งสองแผ่นจะมีจุดหลายๆจุดเรียงต่อกันดังภาพ

 โดยกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำคือ ร่างต่อจุดเป็นภาพ


กระดาษใบที่1 เงื่อนไขคือให้ร่างต่อจุดเป็นภาพสิ่งมีชีวิตอะไรก็ได้
                                                       
                                        สำหรับฉันวาดเป็นรูปม้า Pegasus 




กระดาษใบที่2  เงื่อนไขคือให้ร่างต่อจุดเป็นภาพสิ่งที่ไม่มีชีวิตอะไรก็ได้

                                                  ฉันวาดรูป ปราสาทม้าPegasus 

                     

                     




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   -สามารถนำความรู้จากเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ ในการเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ต่างๆสำหรับงานศิลปะ ให้เหมาะสมกับงานศิลปะแต่ละประเภทที่ต้องการจัดให้เด็กทำ และวิธีการเลือกอุปกรณ์ที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก
   -สามารถนำกิจกรรมศิลปะในวันนี้คือ การร่างต่อจุดเป็นภาพไปจัดใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกเรียนรู้เกี่ยวกับร่างเส้น การแก้ปัญหา ฝึกการคิดออกแบบให้เป็นรูปร่างตามจินตนาการของตนเองโดยมีกฎเกณฑ์ที่ยากขึ้นมาในการวาดรูปคือต้องลากตามเส้นเท่านั้น เด็กก็จะได้ฝึกคิดในการวาดรูปที่ยากขึ้น


ประเมินผล 


ประเมินตนเอง 
       ในเรื่องของทฤษฎีตั้งใจฟังอาจารย์สอน และพยายามจดเนื้อหาที่อาจารย์เพิ่มเติมลงไปในใบความรู้ ถึงแม้จะมีบ้างช่วงที่นั่งเหม่อบ้าง กิจกรรมที่ทำในวันนี้มีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมศิลปะทั้งสองชิ้นงานและตั้งใจวาดรูประบายสีจนเสร็จภายในคาบเรียน  วันนี้อาจารย์แจกสีใหม่ก็รู้สึกดีใจไม่ค่อยกล้าใช้สีใหม่เท่าไหร่และพยายามจะใช้สีให้ดูเหมือนใหม่มากที่สุด

  
ประเมินเพื่อน  
      เพื่อนหลายคนในวันนี้คุยกันในขณะที่อาจารย์สอนแม้อาจารย์จะเตือนแล้วแต่ก็ไม่สนใจและยังคุยต่อไป บางคนก็นั่งเหม่อลอยบ้าง และบางคนก็นอนหลับในขณะที่อาจารย์สอนตั้งแต่ต้นคาบเรียนจนท้ายคาบเรียนก็มีแต่ก็มีเพื่อนบางส่วนที่ตั้งใจเรียนและจดเนื้อหาที่สอนอยู่บ้างเป็นบางส่วน วันนี้เพื่อนหลายคนเรียนด้วยอาการที่สบายใจไม่รู้สึกเกรงใจอาจารย์ซึ่งเป็นผู้สอนเลย  เพื่อนๆควรปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองโดยการฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีกว่านี้


ประเมินอาจารย์  
      เนื้อหาทฤษฎีที่อาจารย์สอนในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำงานศิลปะ อาจารย์มีความตั้งใจอย่างมากในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์มากมายที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนมาแสดงให้นักศึกษาดูไม่ว่าจะเป็นกระดาษชนิดต่างๆ สีชนิดต่างๆ นักศึกษาบางคนอาจไม่รู้จักไม่เคยเห็น ทำให้นักศึกษามองเห็นภาพและเข้าใจได้มากขึ้น  ในช่วงของการทำกิจกรรมศิลปะ ในขณะที่นักศึกษาแต่ละคนทำงานอาจารย์พยายามเดินดูการทำงานของนักศึกษาแต่ละคน ซึ่งอาจารย์ก็ใส่ใจต่อการทำงานของนักศึกษาทุกๆคน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น